pp

ยินดีต้อนรับ . . . . . เข้าสู่เว็บไซต์
" นิทานพื้นบ้าน"

 
 
 

4 | | | | | | | | |ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน| | | | | | | | |3

          นิทานพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะที่เห็นเด่นชัด คือ เป็นเรื่องเล่าที่มีการ ดำเนินเรื่อง อย่างง่ายๆโครงเรื่องไม่ซับซ้อนวิธีการที่เล่าก็เป็นไปอย่างง่ายๆตรงไป ตรงมา มักจะเริ่มเรื่องโดยการกล่าวถึงตัวละครสำคัญของเรื่องซึ่งอาจจะเป็นรุ่น พ่อ-แม่ของพระเอกหรือนางเอก แล้วดำเนินเรื่องไปตามเวลาปฏิทินตัวละคร เอกพบอุปสรรคปัญหา แล้วก็ฟันฝ่าอุปสรรคหรือแก้ปัญหาลุล่วงไปจนจบเรื่อง ซึ่งมักจะจบแบบมีความสุข หรือสุขนาฏกรรม ถ้าเป็นนิทานคติ ก็มักจะจบลงว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…..” ถ้าเป็นนิทานชาดกก็จะบอกว่าตัวละครสำคัญ ของเรื่องในชาติต่อไป ไปเกิดเป็นใครบ้างถ้าเป็นนิทานปริศนาก็จะจบลงด้วย ประโยค คำถาม ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน กุหลาบ มัลลิกะมาส ได้สรุปไว้ดังนี้ 

  1. เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา เป็นภาษาร้อยแก้วไม่ใช่ร้อยกรอง
  2. เล่ากันด้วยปากสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน และเมื่อการเขียนเจริญขึ้น ก็อาจมีการเขียนขึ้นตามเค้าเดิมที่เคยเล่าด้วยปาก
  3. ไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นใคร อ้างแต่ว่าเป็นของเก่าฟังมาจากผู้เล่า ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่งในอดีตอีกต่อหนึ่ง ผิดกับนิยายสมัยใหม่ที่ทราบตัวผู้แต่ง แม้นิทานที่ปรากฏชื่อ ผู้แต่งเช่น นิทานของกริมม์ ก็อ้างว่าเล่าตามเค้านิทานที่มีมาแต่เดิมไม่ใช่ตนแต่งขึ้นเอง

          เจือ สตะเวทิน ให้คำอธิบายลักษณะสำคัญของนิทานพื้นเมือง ไว้ดังนี้

  • ต้องเป็นเรื่องเก่า
  • ต้องเล่ากันด้วยภาษาร้อยแก้ว
  • ต้องเล่ากันด้วยปากมาก่อน
  • ต้องแสดงความคิด ความเชื่อของชาวบ้าน
  • เรื่องจริงที่มีคตินับอนุโลมเป็นนิทานได้เช่น มะกะโท ชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น

 

 
free hit counter